ความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิต
(Linkages in Input-Output Model)
จากโครงสร้างของตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต การผลิตสินค้าหรือบริการของสาขาการผลิตใด ๆ จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสาขาอื่น ๆ ได้ 2 รูปแบบ
- หากสาขาการผลิตที่กำลังพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิต จะทำให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ที่เพิ่มขึ้นจากสาขาการผลิตนั้นไปยังสาขาผลิตอื่นที่ผลผลิต ถูกใช้เป็น วัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิตของสาขาการผลิตที่กำลังพิจารณา ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ถูกอธิบายได้ด้วย "การเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหลัง" ซึ่งเป็น ดัชนีที่ใช้ระบุถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างสาขาการผลิตใด ๆ กลับสาขาการผลิตอื่น ๆ ที่เป็น อุตสาหกรรมต้นน้ำ
- หากอุตสาหกรรมที่กำลังพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิต ก็จะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปทานของสินค้าหรือบริการจากสาขาการผลิตนั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบ หรือ ปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิตของสาขาการผลิตอื่นที่ต้องการใช้สินค้าหรือบริการจากสาขาการผลิตที่กำลังพิจารณาได้มากขึ้น ความสัมพันธ์ใน ลักษณะนี้ทุกอธิบาย ได้ด้วย "การเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหน้า" ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ระบุถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างสาขาการผลิตใด ๆ จากสาขาการผลิตอื่น ๆ ที่เป็น อุตสาหกรรมปลายน้ำ
Scatterplot of Backward and Forward Linkages
การเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหลัง (Backward Linkage)
การเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหน้า (Forward Linkage) ของสาขาการผลิตต่าง ๆ
จากการคำนวณระดับของการเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหลังและการเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหลังของสาขาการผลิตต่าง ๆ ในประเทศไทยพบว่าสาขาการผลิตเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอากาศยาน สาขาการให้บริการขนส่งทางอากาศ และสาขาการซ่อมบำรุงอากาศยาน มีระดับของการเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหลังสูงที่สุด ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงสร้างเทคโนโลยีการผลิตของทั้งสามสาขาการผลิตที่พึ่งพาวัตถุดิบจากสาขาการผลิตอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ทั้งสามสาขาการผลิตมีอุตสาหกรรมต้นน้ำในห่วงโซ่อุปทานเป็นจำนวนมาก โดยมีระดับการเชื่อมโยงไปข้างหลัง เท่ากับ 3.42 3.15 และ 2.86 ตามลำดับ
ในทางตรงกันข้าม หากพิจารณาผลการวิเคราะห์ระดับของการเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหน้าของสาขาการผลิตต่าง ๆ ในประเทศไทยจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต พบว่าในภาพรวมของสาขาการผลิตที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยนั้นมีระดับการเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหน้าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับสาขาการผลิตอื่น ๆ ในประเทศ อธิบายได้ว่าเป็นผลเนื่องมาจากอุตสาหกรรมปลายน้ำในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการบินมีไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับบริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านธุรกิจ การค้าปลีก-ค่าส่ง ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลไกด้านอุปทานของอุตสาหกรรมการบินอาจจะไม่ได้ผลมากเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับจำนวนสาขาการผลิตที่มีอุตสาหกรรมปลายน้ำในห่วงโซ่อุปทานปริมาณมาก เช่น สาขาเหมืองแร่ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ สาขาการกลั่นน้ามันปิโตรเลียม และสาขาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น ดังแสดงผลการคำนวณในตาราง
(No.)
(Sector Name)
(Paddy)
(Maize)
(Cassava)
(Beans and Nuts)
(Vegetables and Fruits)
(Sugarcane)
(Rubber)
(Other Crops)
(Livestock)
(Forestry)
(Fishery)
(Mining and Quarrying)
(Processing and Preserving of Foods)
(Beverages)
(Tobacco Processing and Products)
(Spinning, Weaving and Bleaching)
(Textile Products)
(Paper and Paper Products)
(Printing and Publishing)
(Basic Chemical Products)
(Other Chemical Products)
(Petroleum Refineries)
(Rubber Products and Plastic Wares)
(Other Non-metallic Products)
(Iron and Steel)
(Fabricated Metal Products)
(Industrial Machinery)
(Electrical Machinery and Apparatus)
(Motor Vehicles and Repairing)
(Other Transportation Equipment)
(Aircraft engine and engine parts manufacturing)
(Repair, maintenance and overhaul of aircraft engine and parts)
(Leather Products)
(Saw Mills and Wood Products)
(Other Manufacturing Products)
(Electricity)
(Pipe Line (Gas))
(Water Supply System)
(Construction)
(Trade)
(Restaurants and Hotels)
(Rail Transport)
(Road Transport)
(Water Transport)
(Commercial air transport services)
(General aviation)
(Airport operation and services)
(Air navigation services)
(Other air transport services)
(Miscellaneous services relating to transport)
(Silo and Warehouse)
(Communication)
(Banking and Insurance)
(Real Estate)
(Business Services)
(Aviation regulatory functions)
(Aviation training)
(Public Services)
(Other Services)
(Unclassified)
(Backward Linkage)
(Forward Linkage)